บรูไนดารุสซาลามBrunei Darussalam |
ข้อมูลทั่วไป |
ชื่อทางการ
เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
ที่ตั้ง
ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ทิศตะวันออก ตะวันตกและทิศใต้ติดเขตซาราวัก ประเทศมาเลเซีย
โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้
พื้นที่
5,765 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 4 เขต คือ Brunei-Muara, Belait, Temburong และ Tutong
เมืองหลวง
บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) อยู่ในเขต Brunei-Muara
ภูมิอากาศ
ร้อนชื้น มีฝนตกชุกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 23-32 องศาเซลเซียส ฝนตกหนักสุดช่วงเดือนกันยายนถึงมกราคม
และพฤษภาคมถึงกรกฎาคม อากาศเย็นสบายที่สุดจะอยู่ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
ระบอบการปกครอง
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์
(His Majesty Sultan HajiHassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นสมเด็จพระราชาฯ
องค์ที่ 29 ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510 ซึ่งในปีนี้ (2551) เป็นวาระเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ
62 ปี ของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ
|
ประชาคมอาเซียน : ประเทศบรูไน
Home : บรูไน
Food : อาหารประจำชาติ
Food : อาหารประจำชาติ
อัมบูยัต (Ambuyat)
อัมบูยัตเป็นอาหารยอดนิยมของบรูไนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊กโดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตเอง ไม่มีรสชาติแต่ความอร่อยจะอยู่ที่การจิ้มกับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวนอกจากนี้ยังมีเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น ผักสด เนื้อห่อใบตองย่างหรือเนื้อทอด ทั้งนี้ การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องรับประทานตอนร้อน ๆจึงจะดีที่สุด
ส่วนผสม
-แป้งสาคู -น้ำร้อนต้มสุก -น้ำ
ส่วนผสม ปลาทอด
-ปลาสีขาว -หอมแดง -กระเทียม -ขมิ้นสดโขลกหยาบ
-ขิงกรัม -พริกตา -ตะไคร้บด -มะขามแห้ง
-น้ำ (2 . ถ้วย)
ส่วนผสมเครื่องเคียง
-หน่อPaku -เกลือ -น้ำมันพืช
-หอมแดง -กระเทียมโขลก -กุ้ง -น้ำ
-พริกแดง (หั่น) สำหรับการตกแต่ง
วิธีทำแป้ง
1. ผสมน้ำร้อนกับแป้งสาคู 4 ถ้วยน้ำนาน ๑๐ นาทีแล้วจึงเทน้ำส่วนเกินทิ้ง
วิธีทำปลา
ทำความสะอาดปลาและหั่นเป็นชิ้น นำส่วนผสมอื่นๆผัดเข้าด้วยกันและนำปลามาคลุกเคล้าจนสุก
วิธีทำเครื่องเคียง
ผัดส่วนผสมที่โขลกอย่างดีในน้ำมันที่ร้อนจนหอมเพิ่มเกลือน้ำตกแต่งด้วยพริกแดง
Religions : ศาสนา
Religions : ศาสนา
ส่วนใหญ่ชาวบรูไนนับศาสนาอิสลามนิกายซุนนี่ 67%
รองลงมาเป็นศาสนาพุทธนิกายมหายาน 13%
ศาสนาคริสต์ 10%
ศาสนาฮินดู ความเชื่อพื้นเมืองและอื่นๆตามมา 10%
Language : ภาษา
Language : ภาษา
ภาษาบรูไน (Melayu Brunei) หรือภาษามาเลย์สำเนียงบรูไน หรือภาษาโอรัง บูกิต มีผู้พูดทั้งหมด 266,000 คน. พบในบรูไน 215,000 คน (พ.ศ. 2527) ในบริเวณเมืองหลวงและตามแนวชายฝั่ง พบใน ประเทศมาเลเซีย 51,000 คน (พ.ศ. 2543) ในบริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือ บาลาอิตบนและบริเวณแม่น้ำตูเตาของรัฐซาราวัก และในรัฐซาบาห์ จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาลาโย-ซุมบาวัน สาขาย่อยมาเลย์อิก เป็นภาษาประจำชาติและภาษามาตรฐานของบรูไน ซึ่งแตกต่างไปจากภาษามาเลย์มาตรฐานของประเทศมาเลเซีย ใช้มากในบันดาร์เสรีเบกาวันและบริเวณใกล้เคียง และจะพูดภาษามาเลย์มาตรฐานได้ด้วย
People : ประชากร
People : ประชากร
ประชากร 358,098 คน (สำรวจเมื่อปี 2546) ประกอบด้วย
- ชาวมาเลย์ 66%
- ชาวจีน 20%
- ชาวอินเดีย 5%
และอื่นๆ (9%)
มีอัตราการเพิ่มของประชากรปีละ 2%
Attractions : สถานที่ท่องเที่ยว
Attractions : สถานที่ท่องเที่ยว
1.เมืองบินบันดาร์ เสรี เบกาวัน
เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไนอยู่ในเขตการปกครองบรูไน-เมารา มีประชากรประมาณ 60,000 คน เดิมชื่อว่า เมืองบรูไน ภายหลังเมื่อบรูไนพ้นจากการคุ้มครองของอังกฤษแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบันดาร์เสรีเบกาวันปัจจุบันกรุงบันดาเสรีเบกาวันเป็นศูนย์กลางการเงินธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งยังเป็นสถานที่ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติด้วย เมืองหลวงของบรูไนเป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญของประเทศ เช่น พระราชวังหลวง ศูนย์ประวัติศาสตร์บรูไนพิพิธภัณฑ์บรูไน สุเหร่าที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันออกคือ มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน และ กัมปงเอเยอร์ หมู่บ้านดั้งเดิมของชาวบรูไนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบรูไน
2.มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน
กรุงบันดาร์เสรีเบกาวันเป็นเมืองเดียวของบรูไนที่เรียกว่าเมืองได้อย่างแท้จริง บันดาร์เสรีเบกาวันเป็นเมืองสวยสะอาด ถนนในเมืองกว้างขวางและมีตึกรามบ้านเรือนทันสมัย มีสุเหร่าขนาดใหญ่อยู่กลางเมือง คือมัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน ในบริเวณสุเหร่ามีสระขุดขนาดใหญ่ประดับสถานที่ให้ดูเด่นสง่างาม ภายในสุเหร่าปูพื้นด้วยหินอ่อนจากอิตาลี และปูพรมสั่งทอพิเศษผืนใหญ่มหึมา นับว่าเป็นศูนย์รวมชาวมุสลิมในบรูไนและเป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุดของศาสนาอิสลามในบรูไน
นอกจากมัสยิดโอมาร์ อาลี ไชฟัดดินแล้ว กรุงบันดาร์เสรีเบกาวันยังเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจหลายแห่งของบรูไน อาทิ พิพิธภัณฑ์บรูไน กับพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีมาเลย์ ซึ่งแสดงสถาปัตยกรรมการก่อสร้างบ้านในแม่น้ำอย่างที่กัมปงเอเยอร์ นอกจากนี้ยังมีพระราชวังหลวงที่ใหญ่โตโอ่อ่าและสวยงามมากคือ พระราชวังหลวง อิสตานา นูรัล อีมาน ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมหลังจากเดือนรอมฎอน หรือหลังพิธีถือศีลอด
3.น้ำพุเต้นระบำ
ชมน้ำพุเต้นระบำอันงดงาม ที่มีความสูงถึง 18 เมตร พร้อมกับอนุสาวรีย์แก้วเจียระไนเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดในโลก
4.เกาะลาบวน
ช๊อปปิ้งสินค้าปลอดภาษีบน…เกาะลาบวน เกาะลาบวน(Labuan) ตั้งอยู่ใน รัฐซาบ่าร์(Sabah) ประเทศมาเลเซีย อยู่บริเวณทะเลจีนใต้ห่างจากฝั่งทะเลของเกาะซาบาห์ประมาณ 8 กม. อีกทั้งยังเป็นเกาะเดียวของมาเลเซียที่มีท่าเรือน้ำลึก
ในอดีตเกาะนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศบรูไน แต่ได้ยกให้อังกฤษในปี พ.ศ. 2389 ก่อนผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาเลเซียในปี พ.ศ. 2506
เกาะนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นท่าเรือปลอดภาษี มีชื่อเสียงด้านตลาดตราสารการเงิน หรือ International Offshore Financial Centre (IOFC) มีพื้นที่ประมาณ 98 ตร.กม. ประชากร 7.8 หมื่นคน
เกาะนี้มีสถานที่เที่ยว,อนุสาวรีย์อุทยานสันติภาพเพื่อรำลึกถึงทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2 ,เกาะลาบวนเป็นศูนย์การกู้เรือชั้นนำของส่วนภูมิภาค,อุทยานการเงินของเกาะลาบวน เหมาะสำหรับผู้ที่รักสันโดดแบบธรรมชาติ
เนื่องจากเกาะนี้เป็นเขตปกครองพิเศษของมาเลเซีย นักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาเยี่ยมเยือนได้ขนานนามเกาะแห่งนี้ว่า ไข่มุกแห่งทะเลจีนใต้ เกาะนี้เคยเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
เกาะลาบวน เป็นเกาะที่มีเหมืองถ่านหินมากมาย กองเรือของอังกฤษเคยใช้เป็นที่เติมเชื้อเพลิงของกองทัพเรือ นักท่องเที่ยวสามารถชมรอบเกาะลาบวนได้อย่างสะดวกสบายด้วยบรรยากาศอันร่มรื่นและสวยงาม
สวนสันติภาพ (Peace Park) เป็นอีกสถานที่ที่คุณไม่ควรพลาดในการเก็บภาพแห่งความประทับใจของคุร นอกจากนั้นคุณยังสามารถเดินทางไปชม เซอร์เรนเดอร์พอยต์ (Surrender Point) ซึ่งเป็นจุดที่กองทัพญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามต่อกองทัพออสเตรเลี่ยน
การออกไปเลือกซื้อสินค้าปลอดภาษีก็เป็นสิ่งที่ขึ้นชื่อของเกาะลาบวน บนเกาะแห่งนี้คุณสามารถซื้อสินค้าจำพวก เหล้า เบียร์ บุหรี่ ช็อกโกแล็ต น้ำหอม เสื้อผ้ามาเลย์ ได้ในราคาที่ถูกมาก
ช๊อปปิ้งสินค้าปลอดภาษีบน…เกาะลาบวน เกาะลาบวน(Labuan) ตั้งอยู่ใน รัฐซาบ่าร์(Sabah) ประเทศมาเลเซีย อยู่บริเวณทะเลจีนใต้ห่างจากฝั่งทะเลของเกาะซาบาห์ประมาณ 8 กม. อีกทั้งยังเป็นเกาะเดียวของมาเลเซียที่มีท่าเรือน้ำลึก
ในอดีตเกาะนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศบรูไน แต่ได้ยกให้อังกฤษในปี พ.ศ. 2389 ก่อนผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาเลเซียในปี พ.ศ. 2506
เกาะนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นท่าเรือปลอดภาษี มีชื่อเสียงด้านตลาดตราสารการเงิน หรือ International Offshore Financial Centre (IOFC) มีพื้นที่ประมาณ 98 ตร.กม. ประชากร 7.8 หมื่นคน
เกาะนี้มีสถานที่เที่ยว,อนุสาวรีย์อุทยานสันติภาพเพื่อรำลึกถึงทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2 ,เกาะลาบวนเป็นศูนย์การกู้เรือชั้นนำของส่วนภูมิภาค,อุทยานการเงินของเกาะลาบวน เหมาะสำหรับผู้ที่รักสันโดดแบบธรรมชาติ
เนื่องจากเกาะนี้เป็นเขตปกครองพิเศษของมาเลเซีย นักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาเยี่ยมเยือนได้ขนานนามเกาะแห่งนี้ว่า ไข่มุกแห่งทะเลจีนใต้ เกาะนี้เคยเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
เกาะลาบวน เป็นเกาะที่มีเหมืองถ่านหินมากมาย กองเรือของอังกฤษเคยใช้เป็นที่เติมเชื้อเพลิงของกองทัพเรือ นักท่องเที่ยวสามารถชมรอบเกาะลาบวนได้อย่างสะดวกสบายด้วยบรรยากาศอันร่มรื่นและสวยงาม
สวนสันติภาพ (Peace Park) เป็นอีกสถานที่ที่คุณไม่ควรพลาดในการเก็บภาพแห่งความประทับใจของคุร นอกจากนั้นคุณยังสามารถเดินทางไปชม เซอร์เรนเดอร์พอยต์ (Surrender Point) ซึ่งเป็นจุดที่กองทัพญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามต่อกองทัพออสเตรเลี่ยน
การออกไปเลือกซื้อสินค้าปลอดภาษีก็เป็นสิ่งที่ขึ้นชื่อของเกาะลาบวน บนเกาะแห่งนี้คุณสามารถซื้อสินค้าจำพวก เหล้า เบียร์ บุหรี่ ช็อกโกแล็ต น้ำหอม เสื้อผ้ามาเลย์ ได้ในราคาที่ถูกมาก
5.สวนสันติภาพ
สวนสันติภาพที่สร้างขึ้นเพื่อให้เห็นถึงความสันติ มิควรมีสงคราม , สุสานทหารสัมพันธมิตร ที่ทุกปีจะมีงานรำลึก , พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ การจัดแสดงได้อย่างเหมาะสม
6.Kampong Ayer (หมู่บ้านน้ำ)
เข้าเยี่ยมชมที่ดีที่สุดโดยเรือแท็กซี่ มันเป็นสายตาที่สวยงามให้เห็นหลายร้อยหลังที่ดูเหมือนลอยอยู่บนน้ำ คนที่หมู่บ้านน้ำมีความเป็นมิตรที่ดีและหลายเปิดบ้านของพวกเขากับผู้เข้าชมตลอดทั้งปี รถแท็กซี่น้ำสามารถพบได้โดยเดินไปตามบรูไนแม่น้ำหรือตลาดหลักในบันดาร์เสรีเบกาวันและโบกหนึ่งลง พยายามที่จะเจรจาต่อรองราคาลง คุณไม่ควรจ่ายเกินกว่า B 30 สำหรับทัวร์ชั่วโมงนาน (B 15 สำหรับครึ่งชั่วโมง) ของ Kampong Ayer แม้ว่ารถแท็กซี่น้ำจะไม่ได้นั่งรถเข็นเป็นมิตรกับไดรเวอร์ของพวกเขามีความยินดีที่จะเกื้อและทีมงานได้ขึ้นและดำเนินการของบุคคลในรถเข็นบนกระดานได้ถามสำหรับเรือขนาดใหญ่แม้ว่า หากคุณไม่ต้องการเปลือกออกเงินสำหรับทัวร์รถแท็กซี่น้ำ, พิจารณาหลงรอบหมู่บ้านด้วยตัวคุณเอง คุณสามารถเริ่มต้นจากด้านหลังมัสยิดสุลต่านหรือจากด้านอื่น ๆ ในเมืองเช่นบา Satu
Economy : เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจ
- บรูไน ฯ เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสามในภูมิภาคอาเซียน รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย
และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ LNG อันดับสี่ของโลก จึงมีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ
คิดเป็นมูลค่ากว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดโดยส่งออกไปยังญี่ปุ่น อออสเตรเลีย จีน อินเดีย สิงคโปร์ ไทย
และเกาหลีใต้ ในขณะเดียวกัน บรูไนฯ นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร และเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ
เครื่องใช้ไฟฟ้าจากสิงคโปร์ อังกฤษ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
- นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมัน บรูไนฯ ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ อีก อาทิ อุตสาหกรรมฮาลาล โดยรัฐบาลได้เปิดตัวโครงการ
Brunei Premium Halal Brand ขึ้น ภายใต้ความร่วมมือกับภาคเอกชนออสเตรเลีย เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าและ
อาหารฮาลาลบรูไนฯ สู่ตลาดสากล นอกจากนี้ ยังส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยมีจุดขายอยู่ที่การเป็นประเทศ
ที่มีความสงบและปลอดภัย และมีนโยบายจะพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและท่องเที่ยว
(Service Hub for Trade and Tourism – SHuTT 2003 Vision) และการรักษาพยาบาล
- แผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 9 รัฐบาลจะเน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้า ซึ่งปัจจุบันบรูไนฯ สามารถสร้างโรงงานผลิต
เมทานอล ขึ้นที่เขตอุตสาหกรรม Sungai Liang นอกจากนี้รัฐบาลพยายามส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติและการลงทุน
ภายในประเทศ ในโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
- ปัจจุบัน บรูไน ฯ กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลักไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย
มากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีบทบาทมากขึ้น มีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้าและสร้างบรรยากาศ
ที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี การพัฒนายังเป็นไปย่างล่าช้า เนื่องจากอุปสรรคหลายประการ อาทิ
กฎระเบียบที่เคร่งครัดต่าง ๆการห้ามชาวต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการ การขาดช่างฝีมือ ประกอบกับคนบรูไนฯ
ไม่คุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบใหม่และระบบเศรษฐกิจการค้าเสรี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างชาติ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)